ตำนานรัตนสูตร

ตำนานรัตนะสูตร

   ครั้งหนึ่งพระนครไพศาลี หรือเวสาลีอันไพบูลย์ไปด้วยขัตติยะตระกูล มีพระเจ้าลิจฉวีเป็นประธานแก่ขัตติยะตระกูลทั้งปวง บังเกิดทุพภิกขภัยข้าวแพงฝนแล้ง ข้าวกล้าตายฝอย คนยากจน ทั้งหลายพากันล้มตายเป็นอันมาก เมื่อตายแล้วก็พากันเอาศพไปทิ้งไว้นอกพระนคร กลิ่นอสุภะได้เหม็นตลบไปทั่วบริเวณนั้น กาลนั้นหมู่อมนุษย์ทั้งหลายก็เข้าไปสู่พระนคร อหิวาตกโรคก็เกิดขึ้น ทำให้ชาวพระนครล้มตายอีกเป็นอันมาก เหตุด้วยบ้านเมืองปฏิกูลไปด้วยกเฬวรากซากอสุภะ ครั้งนั้นกล่าวกันว่า พระนครไพศาลี ประกอบไปด้วยภัย ๓ ประการ คือ

๑. ทุพภิกขภัย ข้าวแพง มนุษย์ตายด้วยอดอาหาร
๒. อมนุษย์ภัยเบียดเบียน ตายด้วยภัยแห่งอมนุษย์
๓. โรคภัย ตายด้วยโรคต่างๆ มีอหิวาตกโรค เป็นต้น

ชาวพระนครจึงพากันไปเฝ้าบรมกษัตริย์ทูลว่า แต่ก่อนมาภัยนี้ยังไม่เคยมี ที่มาเกิดขึ้นครั้งนี้เป็นเพราะพระองค์มิได้ตั้งอยู่ในธรรม บรมกษัตริย์ก็ทรงอนุญาตให้ชาวพระนครตรวจดูราชกิจของพระองค์ ก็ไม่สามารถที่จะกล่าวได้ว่า สิ่งที่บรมกษัตริย์ได้ประพฤติไม่เป็นธรรม จึงพากันคิดว่า จะระงับภัยอันนี้โดยหาผู้ประเสริฐเลิศโลกมาระงับ บางคนกล่าวว่าควรนิมนต์ เดียรถีย์ บางคนกล่าว่า ควรนิมนต์ พระพุทธเจ้า ในที่สุดทุกฝ่ายสรุปความเห็นตรงกันให้เชิญเสด็จพระพุทธเจ้าจากกรุงราชคฤห์ให้ระงับภัยในพระนครเวสาลี แล้วจึงจัดเครื่องบรรณาการมอบให้พระเจ้าลิจฉวี ๒ พระองค์เป็นประธาน นำเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้าพิมพิสาร ขอให้พระองค์ทรงอนุญาตให้เชิญเสด็จพระพุทธเจ้าไปยังนครเวสาลี พระเจ้าพิมพิสารจึงรับสั่งให้ พระเจ้าลิจฉวีไปนิมนต์พระพุทธเจ้าตามความประสงค์ พระพุทธเจ้ารับนิมนต์ของพระเจ้าลิจฉวีแล้ว ก็เสด็จไปเมืองเวสาลี พร้อมด้วยพระสาวก ๕๐๐ รูป ระหว่างทางที่เสด็จทรงพระดำเนินไปพระนครเวสาลีนั้น พระราชาและชาวพระนครหมู่อมรพรหมินทร์กระทำการสักการะด้วยโรยทรายและดอกไม้ของหอมตามมรรคา และยกฉัตรกั้นแสงพระสุริยา ธงผ้าและของทิพย์นานาประการ สรรพอาหารมีรสเลิศนำมาถวาย อนึ่ง ระหว่างพระนคร เมื่อพระบรมครูเสด็จถึงที่นั้น ได้ลงสู่นาวาข้ามคงคาไป พญานาคที่อยู่ในคงคาก็มากระทำสักการะบูชาด้วย ระยะทางจากกรุงราชคฤห์ถึงพระนครเวสาลีประมาณ ๘ โยชน์เศษ สมเด็จพระบรมครูเสด็จรอนแรมไปตามระยะทาง ๘ วัน จึงถึงพระนครเวสาลี
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเขตพระนครเวสาลี ฝนห่าใหญ่ก็ตกลงมาจนท่วมถึงเข่า พัดพาเอาซากอสุภะทั้งปวงลอยไปสู่คงคาสิ้น เมื่อถึงพระนครเวสาลีพระอินทร์และเทพยดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ก็มาคอยเฝ้าพระพุทธเจ้า ฝ่ายฝูงอมนุษย์ทั้งหลายเห็นท้าวสหัสสเนตรก็พาหนีกันไปเป็นอันมาก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงประตูพระนครเวสาลีแล้ว จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสเรียกพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอเรียนเอารัตนสูตรนี้ แล้วจงถือเอาเครื่องพลีกรรมเที่ยวไปในระหว่างแห่งกำแพงทั้งสามชั้นแล้ว จงสวดซึ่งรัตนสูตรปริตรนี้ เมื่อเรียนได้แล้ว ก็ถือเอาบาตรนั้นของสมเด็จพระบรมครูเที่ยวประพรมน้ำ สาดน้ำไปทั่วพระนคร อมนุษย์ทั้งหลายที่ยังมิได้หนีไป ในกาลครั้งนั้น ก็พากันหนีไปสิ้น ชาวพระนครก็ปราสจากโรคภัยเบียดเบียน
พระพุทธเจ้า จึงทรงตรัสเทศนารัตนสูตรโปรดท้าวสักกรินทร์เทวราชกับหมู่เทพยนิกรทั้งหลาย ฝ่ายมนุษย์มีพระเจ้าลิจฉวีและชนชาวพระนครเป็นอันมาก กาลเมื่อจบพระธรรมเทศนาลง ความเจริญสิริสวัสดิ์ก็บังเกิดแก่ราชตระกูลและชนชาวพระนคร อุปัทวันตรายทั้งปวงก็ระงับสิ้นจำนวนสรรพสัตว์แปดหมื่นสี่พัน ก็ได้ตรัสรู้ธรรมาภิสมัยและมรรคผลตามควรแก่วาสนาบารมีที่ได้สร้างมา
ในกาลครั้งนั้น สมเด็จอมรินทร์ทรงจินตนาการว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยซึ่งคุณพระรัตนตรัย แล้วประกอบสัจจวจนะกระทำให้ชาวพระนครถึงซึ่งความเจริญปราศจากอุปัทวันตรายทั้งปวงจำอาตมาจะอาศัยซึ่งพระรัตนตรัยแล้วกล่าวให้เป็นคุณบ้าง เมื่อทรงดำริฉะนี้แล้วก็กล่าวพระคาถาสามพระคาถาว่า ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ฯลฯ ตะถาคะตัง เทวะมนุสสะปูชิตัง สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ความว่า เทวดาทั้งหลายที่เป็นภุมมเทวดาบังเกิดในภูมิประเทศก็ดี เทวดาที่อยู่ในอากาศวิมานก็ดี เราทั้งหลายนมัสการพระพุทธเจ้าอันเสด็จมาสู่พุทธภูมิพร้อมด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรมเหมือนพระธรรมด้วยพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน พระธรรมอันมาสู่พระพุทธสันดานเหมือนพระธรรมอันมาสู่พระพุทธสันดานแต่ก่อน พระสงฆ์อันมาสู่อริยชาติเหมือนด้วยพระสงฆ์แต่ก่อน อันหมู่เทพนิกรและมนุษย์ทั้งหลายกระทำสักการบูชา ขอความสวัสดีจงมีแก่หมู่มนุษย์พุทธบริษัททั้งปวงเถิด ครั้นกล่าวพระคาถานี้แล้วถวายนมัสการลาพาเทพบริวารกลับไป ด้วยเหตุนี้คาถาของท้าวสักกะจึงได้ใช้สวดอยู่ข้างท้ายพระปริตรนี้ด้วย
เมื่อหมู่อมรกลับไปแล้ว พระผู้มีพระภาคยังได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนารัตนสูตรโปรดชาวพระนครอีก ๖ วัน และทรงประทับอยู่ในพระนครเวสาลีประมาณ ๑๕ วัน จึงเสด็จกลับ ระหว่างเมื่อเสด็จกลับถึงฝั่งคงคา พญานาคที่อยู่ในคงคาได้นิมิตนาวาพิเศษมาคอยอยู่ที่ท่าน้ำ ทูลอารธนาพระพุทธเจ้ากับพระสาวก ๕๐๐ รูป ลงสู่นาวาไปนาคพิภพ พระผู้มีพระภาครับอารธนาเสด็จไปยังนาคพิภพพร้อมด้วยพระสาวก ๕๐๐ รูป ได้ทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดนาคทั้งหลายตลอดราตรียันรุ่งแล้ว จึงเสด็จกลับยังกรุงราชคฤห์ มนุษย์และเทวดาก็ทรงกระทำสักการะบูชายิ่งกว่าเมื่อคราวเสด็จไป
พระสูตรนี้ว่าประกอบไปด้วยคุณานุภาพไพศาลเป็นมหัศจรรย์พันลึกพิเศษต่างๆ ยิ่งนัก พระคาถาที่สวดแต่เบื้องต้น จนถึงที่สุดประกอบด้วยคำแปล ดังต่อไปนี้
บทขัดรัตนะสูตร
ปะณิธานะโต ปัฏฐายะ ตะถาคะตัสสะ
เทวดาในแสนโกฏิจักรวาล ยอมรับเอา
ทะสะ ปาระมิโย ทะสะ อุปะปาระมิโย
ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์แห่งพระปริตรใด
ทะสะ ปะระมัตถะปาระมิโย
อนึ่ง พระปริตรใด ยังภัย ๓ ประการ คือ
ปัญจะ มะหาปะริจจาเค ติสโส จะริยา
โรคภัย อมนุสสภัย และทุพภิกขภัย ในเมือง
ปัจฉิมัพภะเว คัพภาวักกันติง
เวสาลีให้อันตรธานไปเร็วพลัน เราทั้งหลาย
ชาติง อะภินิกขะมะนัง ปะธานะจะริยัง
จงตั้งการุญจิตสวดปริตรนั้น ดุจดังท่าน
โพธิปัลลังเก มาระวิชะยัง
พระอานนท์พระเถระเจ้า นึกหน่วงพระพุทธคุณ
สัพพัญญุตัญญาณัปปะฏิเวธัง
ทั้งปวงของพระตถาคตเจ้า จำเดิมแต่
นะวะ โลกุตตะระธัมเมติ ปรารถนาพุทธภูมิมา คือ บารมี ๑๐
สัพเพปิเม พุทธะคุเณ อาวัชชิต๎วา เวสาลิยา
อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ มหาบริจาค ๕
ตีสุ ปาการันตเรสุ ติยามะรัตติง ปริตตัง
จริยา ๓ เสด็จลงสู่คัพโภทรภพสุดท้ายประสูติ
กะโรนโต อายัส๎มา อานันทัตเถโร วิยะ
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ทรงบำเพ็ญความเพียร
การุญญะจิตตัง อุปัฏฐะเปต๎วา
ชนะมาร ณ โพธิบัลลังก์ ตรัสรู้
โกฏิสะตะสะหัสเสสุ
พระสัพพัญญุตญาณและโลกุตตรธรรม ๙
จักกะวาเฬสุ เทวะยา
เหล่านี้แล้ว กระทำปริตรตลอดราตรี
ยัสสาณัมปะฏิคคัณหันติ
ทั้ง ๓ ยาม ในกำแพง ๓ ชั้น
ยัญจะ เวสาลิยัมปุเร
ของเมืองเวสาลีฉะนั้น เทอญฯ
โรคามะนุสสะทุพภิกขะ-
สัมภูตันติวิธัมภะยัง
ขิปปะมันตะระธาเปสิ
ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
รัตนะสูตร
(บทนี้ป้องกันภูตผีปีศาจและโรคภัยไข้เจ็บ ได้รับการพิทักษ์คุ้มครองให้สวัสดีด้วยคุณของพระรัตนตรัย)
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
หมู่ภูตเหล่าใด เป็นภุมมเทวดาก็ดี
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
เหล่าใดสถิตแล้วในอากาศก็ดี
สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
ขอหมู่ภูติเหล่านั้นทั้งหมดเทียว จงเป็นผู้มีจิตโสมนัส
อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง
อนึ่ง จงฟังภาษิตโดยเคารพ
ตัส๎มา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลาย เหล่าหมู่ภูติทั้งปวง จงฟังพระปริตร
เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
กระทำไมตรีจิต ในหมู่สัตว์มนุษยชาติ
ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง
มนุษย์ทั้งหลายเหล่าใด ย่อมนำกระทำพลีกรรมในกลางวันหรือกลางคืน
ตัส๎มา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตาฯ
เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาทรักษาหมู่มนุษย์ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ อันใดอันหนึ่ง ในโลกนี้และโลกอื่นก็ดี
สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
หรือรัตนะอันใด อันประณีตในสวรรค์
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
วัตถุอันนั้น จะเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีต ในพระพุทธเจ้า
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีฯ
ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง
พระศากยมุนี มีพระทัยดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมอันใด
ยะทัชฌะคา สัก๎ยะมุนี สะมาหิโต
เป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลส เป็นที่สำรองกิเลส เป็นธรรมอันไม่ม้วยมรณ์
เป็นธรรมอันประณีต
นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เสมอด้วยพระธรรมนั้น ย่อมไม่มี
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีต ในพระธรรม
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีฯ
ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงสรรเสริญแล้ว ซึ่งสมาธิอันใดว่า เป็นธรรมอันสะอาด
สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวแล้วซึ่งสมาธิอันใดว่า เป็นอนันตริกะให้ผลโดยลำดับ
สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ
สมาธิอื่น เสมอด้วยสมาธินั้น ย่อมไม่มี
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีต ในพระธรรม
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสามัคคี จงมีฯ
เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา
บุคคลทั้งหลายเหล่าใด แปดจำพวก
จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
สี่คู่อันสุตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น เป็นสาวกของพระสุคต ควรแก่ทักษิณาทาน
เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
ทานทั้งหลายอันบุคคลถวายแล้ว ในทานเหล่านั้น ย่อมเป็นทานมีผล
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีต ในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีฯ
เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ อริยบุคคลทั้งหลายเหล่าใด ในพระศาสนา พระโคดมเจ้า
นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ ประกอบดีแล้วมีใจมั่นคง มีความใคร่ออกไปแล้ว
เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ อริยบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น ถึงแล้วซึ่งอรหัตผลที่ควรถึงหยั่งเข้า สู่พระนิพพาน
ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
ได้ซึ่งความดับกิเลสโดยเปล่าๆ แล้วเสวยผลอยู่
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีต ในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีฯ
ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา
เสาเขื่อน เป็นของอันบุคคลปักไว้แล้วในแผ่นดิน
จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
ไม่หวั่นไหวด้วยพายุสี่ทิศ ฉันใด
ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ
ผู้ใดหยั่งเห็นอริยสัจจ์ทั้งหลาย เราเรียกผู้นั้นว่า
โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
เป็นสัตบุรุษผู้ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมฉันนั้น
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีต ในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีฯ
เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ
พระโสดาบันบุคคลจำพวกใด กระทำ
คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
ให้แจ้งอยู่ ซึ่งอริยสัจจ์ทั้งหลาย อันพระศาสดาแสดงดีแล้วด้วย ปัญญาอันลึกซึ้ง
กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา
พระโสดาบันบุคคลจำพวกนั้น ยังเป็นผู้ประมาทเพลินแล้วก็ดี
นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
ถึงกระนั้น ท่านย่อมไม่ถือเอาภพที่ ๘ คือเกิดอีกอย่างช้า เพียง ๗ ชาติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีต ในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีฯ
สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพะตะปรามาส
ต๎ยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ
อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่ ธรรมทั้งหลายสามเหล่านั้น
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ
อันพระโสดาบันบุคคลละได้แล้ว พร้อมด้วยทัศนสมบัติ คือ พระโสดาปัตติมรรคทีเดียว
จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต
อนึ่ง พระโสดาบันบุคคลเป็นผู้พ้นแล้ว จากอบายทั้ง ๔
ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง
ไม่อาจเพื่อจะกระทำอภิฐานทั้ง ๖ คือ อนันตริยกรรม ๕ และอุทิศต่อศาสนาอื่น
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีต ในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีฯ
กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง
พระโสดาบันบุคคลนั้น เมื่อกระทำ
กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา บาปกรรม ด้วยกาย หรือวาจา หรือใจ เข้าบ้าง เพราะความพลั้งพลาด
อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ
ถึงกระนั้น ท่านไม่ควรเพื่อจะปกปิดบาปกรรมอันนั้น
อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
ความเป็นแห่งบุคคล มีทางพระนิพพานอันเห็นแล้วไม่ควรเพื่อจะปกปิดบาปกรรมนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีต ในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีฯ
วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค
ครั้นเมื่อพุ่มไม้ในป่า มียอดอันบานแล้ว
คิมหานะมาเส ปะฐะมัส๎มิง คิมเห
ด้วยกิ่งก้านในต้นคิมหะฤดู ในเดือนคิมหะฤดู ฉันใด
ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมอันประเสริฐยิ่ง
นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ
เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลายใหถึงพระนิพพาน ฉันนั้น
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีต ในพระพุทธเจ้า
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีฯ
วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงทราบธรรมอันประเสริฐ ทรงประทานธรรม
อันประเสริฐ อันนำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ
อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
เป็นผู้ยอดเยี่ยม ได้ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรมอันประเสริฐ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีต ในพระพุทธเจ้า
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีฯ
ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง
กรรมเก่าของพระอริยบุคคลเหล่าใดสิ้นไปแล้ว กรรมใหม่ย่อมไม่ปรากฏ
วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัส๎มิง
พระอริยบุคคลเหล่าใด มีจิตอันหน่ายแล้วในภพต่อไป
เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา
พระอริยบุคคลเหล่านั้น มีพืชอันสิ้นแล้ว มีความพอใจงอกไม่ได้แล้ว
นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป
เป็นผู้มีปัญญา ย่อมปรินิพพานเหมือนประทีปอันดับไปแล้ว ฉะนั้น
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีต ในพระสงฆ์
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุฯ
ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
หมู่ภูตเหล่าใด เป็นภุมมเทวาก็ดี
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
เหล่าใดสถิตแล้วในอากาศก็ดี ซึ่งมาประชุมกันแล้วในที่นี้
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
เราทั้งหลาย จงนมัสการพระพุทธเจ้า
พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ผู้มาอย่างนั้น ผู้อันเทพยดา และมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมีฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
หมู่ภูตเหล่าใด เป็นภุมมเทวาก็ดี
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
เหล่าใดสถิตแล้วในอากาศก็ดี ซึ่งมาประชุมกันแล้วในที่นี้
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
เราทั้งหลาย จงนมัสการพระธรรม
ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุฯ
อันมาอย่างนั้น ผู้อันเทพยดา และมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมีฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
หมู่ภูตเหล่าใด เป็นภุมมเทวาก็ดี
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
เหล่าใดสถิตแล้วในอากาศก็ดี ซึ่งมาประชุมกันแล้วในที่นี้
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
เราทั้งหลาย จงนมัสการพระสงฆ์
สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุฯ
ผู้มาอย่างนั้น ผู้อันเทพยดา และมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมีฯ